ช่วงโควิด-19 หลายคนประสบปัญหารายได้จากการทำงานประจำลดลง จึงเริ่มสร้างอาชีพที่สองและสามทำควบคู่ไปกับงานประจำ จนเมื่อรายได้จากอาชีพเสริมเริ่มเพิ่มขึ้น จึงเริ่มมีความคิดอยากออกจากงานประจำเพื่อมาลุยสร้างธุรกิจของตัวเองและนั่นจึงเป็นที่มาของคำถามสุดฮิตอีกหนึ่งคำถามในช่วงนี้ นั่นคือ “ลาออกจากงานประจำมาทำธุรกิจส่วนตัวดีมั้ย” บทความนี้จะเล่าถึงการวางแผนให้ดีก่อนลาออกจากงานประจำ
อันที่จริงต้องออกตัวก่อนเลยว่า คำถามแบบนี้ไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิดแบบ 100% เพราะก็มีหลายคนที่ตอนทำอาชีพเสริมควบคู่กับงานประจำดูไปได้ดี แต่พอออกมาลุยทำธุรกิจเต็ม ๆ แล้วไปไม่รอด ในขณะที่บางคนทุบหม้อข้าวออกจากงานประจำแล้วมาลุยธุรกิจเลย แล้วกิจการเติบโตก้าวหน้าดี ก็มีให้เห็นอยู่เยอะ
เลยขอตอบจากมุมคิดส่วนตัวของผมเองก็แล้วกันนะครับว่า ตอนที่ผมออกจากงานประจำมาทำธุรกิจส่วนตัวผมคิดและจัดการอย่างไร เผื่อจะเป็นแนวทางหนึ่งให้กับใครที่กำลังคิดไม่ตกกับคำถามนี้
สำหรับคนที่กำลังทำงานประจำและคิดอยากออกมาทำธุรกิจส่วนตัว ผมมีคำแนะนำเบื้องต้นดังนี้ครับ
สารบัญ
1.ควรเริ่มหรือลองทำธุรกิจส่วนตัวควบคู่ไปกับงานประจำก่อน
ประเภทลาออกแล้วนับหนึ่งเลย ผมไม่ค่อยแนะนำเท่าไหร่ ไม่ใช่แค่เรื่องความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องที่ระหว่างสร้างกิจการเงินสะสมที่มีจะค่อย ๆ ร่อยหรอกว่ากิจการจะทำกำไรอาจจะบั่นทอนความคิดความรู้สึกเราเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน
นอกจากความเสี่ยงทางการเงิน อีกเรื่องคือ ความเสี่ยงต้านเวลาและการจัดการตัวเอง ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าช่วงแรกจากงานประจำ ถ้าหากไม่มีการวางแผนทำงาน มีโอกาส “เควัง” ลอยเท้งเต้งอยู่ช่วงเวลาหนึ่งเลยครับ ไม่รู้จะหยิบจับทำอะไรก่อนดีนั้น การเริ่มสร้างกิจการตั้งแต่ตอนทำงานประจำจึงเป็นเรื่องที่ดีกว่า ใช้เวลาช่วงเลิกงานและวันหยุดค่อย ๆ สร้าง ค่อย ๆ ทำ แม้ว่าจะเหนื่อย และเวลาสำหรับธุรกิจมีน้อยหน่อย แต่ผมว่าคุณจะได้ฝึกเรื่องของ การบริหารธุรกิจและ การบริหารเวลา ไปพร้อมๆ กันอย่างมีประสิทธิภาพข้อนี้แนะนำไว้เป็นอันดับหนึ่งเลยครับทำ
2.เริ่มทำธุรกิจในสเกลที่พร้อมล้มเหลวได้
ช่วงเริ่มต้นทำอย่าบู๊มาก มีหลายคนพอคิดจะทำอะไรต้องใหญ่ไว้ก่อน (กลัวโลกไม่จำ) หลายครั้งสิ่งที่เป็นไอเดียที่เคยคิดว่าดี พอลุยจริงแล้วแป้กตั้งแต่เริ่มมีเยอะแยะเลยครับ เผลอ ๆลองไปถามคนทำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จดูก็ได้ว่าสินค้าที่ขายดีวันนี้ ใช่สินค้าที่ตั้งใจจะขายตั้งแต่วันแรกหรือเปล่า รับรองว่ามีคำตอบเซอร์ไพรส์แน่ ๆการทำในสเกลที่ล้มเหลวได้ จัดเป็นวิธีการจำกัดคววมเสี่ยงแบบหนึ่ง ค่อยๆ ลองทำ เรียนรู้ และพัฒนาธุรกิจไปทีละน้อย เช่น อยากทำร้านอาหาร อาจเริ่มจากการลองทำอาหารกล่องขายแบบพรีออเดอร์กับคนใกล้ตัวก่อน หรือถ้าจะรับมาขายหรือทำตลาด ก็อาจซื้อล็อตเล็กๆ มาขายดูก่อนก็ได้ ไม่เจ็บตัวเกินไป ล้มแล้วลุกขึ้นใหม่ได้เร็ว แถมยังเป็น การจำกัดความเสี่ยงเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้เราล้ม
การทดลองตลาดว่าเรามีความเข้าใจตลาดของสินค้าและบริการที่เราจะทำดีหรือไม่ หรืออย่างน้อยก็จะได้เรียนรู้และพัฒนาในระดับความเสียหายที่ไม่แพงเกินไป
3.ให้ “กำไร” จากอาชีพเสริมมากกว่างานประจำต่อเนื่องสัก 1 ปีถึงเริ่มคิดลาออก
มีหลายคนที่พอเริ่มทำอาชีพเสริมแล้วปุบปับโชคดีได้เงินก้อนใหญ่ มีรายได้งาม จนคิดว่าเราจะได้แบบนั้นไปตลอดแล้วพอออกมาทำเต็มตัวจริง ๆ กลับไม่เป็นอย่างนั้น
ที่สำคัญหลายคนไม่เข้าใจว่ารายได้จากอาชีพเสริม ไมใช่ได้ที่เราจะนำมาจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวันได้เหมือนกับเงินเดือน เพราะบางงานบางกิจการมีต้นทุนที่ต้องจ่าย (และอาจไม่ใช่น้อย ๆ ด้วย) ที่ถูกต้องจึงควรพิจารณาที่กำไรของงานหรือธุรกิจเสริมที่เราทำเป็นหลัก ไม่ใช่รายได้
ด้วยเหตุนี้การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายของงานเสริมหรือของกิจการ จึงเป็นสิ่งที่หลีกเสี่ยงไม่ได้ เพื่อให้เราสามารถสอบเงินสดไหลเข้าออกได้ (ที่จริงรายได้จากเงินเข้าก็ควรทำบัญชีด้วยนะ) รู้ตันทุนและกำไรที่แท้จริงของกิจการที่เราทำ และหากคิดจะออกจากงาน ก็ควรสร้างกำไรของเราให้ต่อเนื่องและมากกว่างานประจำสัก 1 ปีถึงคิดเรื่องลาออก
นอกจากนี้ เราอาจต้องพิจารณาแนวโน้มหรือเทรนของกิจการหรืองานเสริมของเราด้วย เพราะกำไรประกอบการในอดีต แต่ถ้าจะออกจากงานไปทำเราต้องดูแนวโน้มของงานเสริมเราในอนาคตว่าจะไปได้สวยหรือไปได้ดีต่อไปอีกนานแค่ไหน
4.เตรียมเงินสำรองทั้ง “ตัวเอง” และ “กิจการ”
เมื่อทำงานเสริมควบคู่ไปกับงานประจำ แล้วมี “กำไร” ก็ต้องสะสมกำไรเอาไว้ อย่าเอาไปกินใช้จนหมด เก็บสะสมกำไรไว้หมุนเวียนหรือขยายกิจการในวันที่ออกไปทำเต็มตัวจริง ๆด้วยก็ดี เงินสำรองกิจการควรมีอย่างน้อย 1 ปี ทั้งนี้ควรแยกออกจากเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินส่วนตัว 6 เดือนด้วย
เงินกินใช้ส่วนตัว สะสมเงินสำรองจากเงินเดือน เงินสำรองหมุนเวียนกิจการ สะสมจากกำไรในขณะทดลองทำกิจการควบคู่กับงานประจำ ถ้ามีเงินสำรองได้แบบนี้ก็จะช่วยลดความกังวลในช่วงเริ่มต้นที่ต้องออกมาลุยเต็มด้วยได้ครับ
5.ระวังเรื่องการบริหาร “เวลา” ให้ดี
ข้อดีข้อหนึ่งของการเป็นเจ้าของกิจการก็คือ อิสระด้านเวลาที่เราสามารถจัดสรรเวลาได้เองไม่ต้องเข้างาน 9โมงเลิกงาน 5 โมงเย็น จนถึงขั้นคิดไปว่าจะทำงานเมื่อไหร่ก็ได้ เอาเข้าจริงไม่ใช่เลยครับ ถ้าออกจากงานมาแล้วใช้ชีวิตไร้ระเบียบ ใช้เวลาไม่เป็นประโยชน์ บอกเลยว่า “พัง” แน่นอน
หลายคนพอออกจากงานประจำมาก็กลายเป็นคนไร้ระเบียบไปเลย นอนดึก ตื่นสาย กว่าจะตื่นก็ใกล้เที่ยงกว่าจะตั้งหลักลงมือทำอะไรก็หมดไปอีกวัน ต้องระวังให้ดีจากแต่เดิมทำงานประจำไม่ต้องคิดมาก ตื่นเข้าไปทำงานทันเวลา ระหว่างวันมีอะไรให้ทำ ก็ทำไปตามนั้น พอทำธุรกิจส่วนตัว จะทำแบบนั้นไม่ได้ครับ ต้องวางแผน ลงตารางเวลา
ทำงานของเราเอง และต้องมีวินัยมากกว่า ข้อเท็จจริงหนึ่งที่ผมพบตอนทำธุรกิจส่วนตัวก็คือ การควบคุมตัวเองยากกว่าให้คนอื่นควบคุมเราเสียอีก
ทั้งหมดคือ คำแนะนำเบื้องต้นจากประสบการณ์ที่ผมเจอมากับตัวเอง อันที่จริงการเป็นผู้ประกอบการยังมีเรื่องอื่นๆที่ต้องใส่ใจและพัฒนาอีกเยอะ แต่ผมว่าเราสามารถเรียนรู้ไปขณะสร้างกิจการได้ แต่ทั้ง 5 ข้อที่ผมหยิบมาคุยวันนี้ ผมว่าเป็น a Must ที่ต้องคำนึงถึงและพิจารณาให้ดีก่อนออกจากงานประจำชีวิตเถ้าแก่สนุกนะครับ แต่ถ้าเตรียมพร้อมไม่ดีก็เหนื่อยและเครียดไม่น้อยเลยยังไงวางแผนดีๆ ครับ ดังนั้นวางแผนให้ดีก่อนลาออกจากงานประจำนะครับ
ที่มา : Money Mindset
ผู้แต่ง : จักรพงษ์ เมษพันธุ์
แนะนำบทความที่น่าสนใจ