วิชาช่างแม่ง

วิชาช่างแม่ง

ปัญหาเป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราเลือกจะจัดการกับมันได้ เริ่มต้นจากการมีวิธีคิดต่อปัญหาให้ถูกต้องเสียก่อน โดยในบทความนี้จะมาเล่าวิธ๊การจัดการปัญหาเพื่อช่างแม่งกันนะครับ

1.เข้าใจและวิเคราะห์ปัญหาก่อน

1.1) ปัญหาที่เรารับรู้มาถึงเรา อาจจะไมใช่ปัญหาของเราก็ได้ แยกให้ได้ว่าปัญหาไหนมาแค่ให้รู้ปัญหาไหนมาแล้วต้องแก้

1.2) ปัญหาเกิดขึ้นและจะจบลงได้ ไม่ด้วยวิธีใดก็วิธีหนึ่ง

1.3) ปัญหานั้นอาจจะถูกแก้โดยเราหรือใครสักคนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเราคนเดียว

1.4) ทุกปัญหามีทางแก้มากกว่าหนึ่งทางเสมอ

ถ้าคิดได้ตาม 4 ข้อนี้ ชีวิตจะง่ายขึ้นเยอะ

2.เมื่อเวลาปัญหามาถึง เราจะจัดการทีละขั้นตามนี้

2.1) ถามตัวเองว่า มันใช่ปัญหาของเราจริงไหมถ้าคำตอบบอกว่า ใช่ นี่คือปัญหาของเรา เราก็เตรียม

ไปขั้นตอนต่อไปแล้วถ้าคำตอบคือ ไม่ใช่ล่ะ เราควรทำอย่างไร “ช่างแม่ง” ครับ

เชื่อไหมว่า ในชีวิตของคนคนหนึ่ง เราเสียเวลาไปกับการแก้ปัญหาที่ไม่ใช่เรื่องของตัวเองเยอะมาก หลายครั้งที่ผลลัพธ์ออกมาแย่กว่าให้เจ้าของปัญหาแก้ไขด้วยตัวเองเสียอีก หรือเราแค่ให้คำแนะนำดีๆไป เจ้าของ

ปัญหาก็สามารถแก้ต่อเองได้แล้วถ้าอยากมีความสุข ตัดปัญหาของคนอื่นออกไปจากชีวิตตัวเองให้ได้ 80% (เหลือไว้ 20% สำหรับคนที่ต้องช่วยเหลือจริง ๆ เช่น คนในครอบครัว)

2.2) ถามตัวเองต่อว่า ปัญหานี้ต้องได้รับการแก้จริงๆ หรือไม่

มีปัญหามากมายในโลกที่ไม่มีทางแก้ได้ บางเรื่องทีไม่ต้องแก้อะไรเลย เพราะเดี๋ยวมันจะหายไปด้วยตัวมันเอง หรืออาจจะไม่คุ้มกับการเสียทรัพยากรเพี่อลงไปแก้เก็บแรงไว้สำหรับเรื่องที่ต้องแก้จริงๆ เท่านั้นเรื่องไหนไม่ต้องแก้

“ช่างแม่ง” อีกเหมือนกัน

2.3) ถามตัวเองต่อว่า เราแก้ปัญหานี้ได้ด้วยตัวเอง

คนเดียวหรือไม่ เพื่อให้ได้ผลออกมาตีที่สุดเมื่อพิจารณาแล้วว่าปัญหานี้ของเราแน่นอน ยังไงก็ต้องแก้ เราเริ่มต้นจัดการได้เลย โดยก่อนที่จะเริ่มแก้ให้พิจารณาดี ๆ ว่าเราแก้ปัญหานี้ทั้งหมดได้ด้วยตัวเองไหม หรือถ้ามีใครช่วยแล้วจะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าเรา

แก้เองเพียงลำพัง ถ้าผลจะไม่ต่างกันก็แก้เอง แต่ถ้ามีคนอื่นช่วยแล้วดีกว่า ให้รีบติดต่อขอความช่วยเหลือซึ่งอาจจะเป็นรูปแบบของคำแนะนำ มาช่วยในบางขั้นตอน อะไรแบบนี้ก็ได้

บางครั้งเราอาจได้ทางออกใหม่ด้วยการจ้างคนอื่นมาแก้ปัญหาให้ เพื่อจะได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด อย่าฝืนแก้เองแล้วเกิดปัญหาจึงค่อยไปตามคนอื่นมาช่วย เพราะปัญหาอาจจะยากกว่าเดิม

2.4) ถามตัวเองข้อสุดท้ายว่า เราต้องแก้ปัญหานี้ตอนนี้เลยหรือไม่

ปัญหาหลายเรื่องเข้ามาวันนี้ อีก 4 วันค่อยแก้ก็ยังไม่สาย

จัดลำดับความสำคัญก่อนเรื่องไหนด่วน เรื่องไหนรอได้อย่าใช้แรงที่มีไปกับปัญหายิบย่อย จนเราหมดแรงจะไปแก้ปัญหาใหญ่ที่ด่วนกว่า สำคัญกว่า เหมือนคนอยากมีเงินล้าน แต่มัวก้มหาเศษสตางค์ที่หล่นตามพื้น

คนแก้ปัญหาเก่งไม่ใช่คนที่เก่งเรื่องแก้ปัญหาอย่างเดียว แต่ต้องเก่งในการจัดการกับปัญหาด้วยมีปัญหามากมายในชีวิตที่เราต้องเกาะติด กัดไม่ปล่อย แต่กับบางปัญหาในชีวิต เรา “ช่างแม่ง” บ้างก็ได้

 

ที่มา : วิชาธุรกิจ ที่ชีวิตจริงเป็นคนสอน3

ผู้แต่ง : ธรรศภาคย์ เลิศเศวตพงศ์

สั่งหนังสือได้ที่ลิงค์นี้


แนะนำบทความที่น่าสนใจ