7 ข้อคิดทางการเงินสำหรับคนรุ่นใหม่

7 ข้อคิดทางการเงินสำหรับคนรุ่นใหม่
สำหรับน้องๆ ที่เพิ่งเรียนจบและเริ่มต้นทำงาน ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาสำคัญที่ผมอยากให้พวกเราวางแผนการเงิน และสร้างนิสัยทางการเงินที่ดีให้กับตัวเอง ดังคำกล่าวที่กล่าวว่า “เริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง” ความสำเร็จทางการเงินก็ไม่ต่างกันครับ เริ่มต้นเรียนรู้และจัดการเรื่องการเงินตั้งแต่วันแรกที่เริ่มต้นทำงานได้ ชีวิตก็มีโอกาสสบายและหมดความกังวลทางการเงินได้ไวกว่าคนอื่น

และต่อไปนี้คือ แนวคิดทางการเงินสำหรับคนรุ่นใหม่ที่ผมกลั่นกรองจากทั้งประสบการณ์ตัวเอง และจากที่ได้โค้ชผู้คนมานับๆพันคนครับ

1.อย่าเป็นหนี้จน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 10 ปีแรกของการทำงาน พยายามอย่างเพิ่งสร้างหนี้จนเป็นอันขาด ทั้งหนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล ไม่ได้บอกว่าทำบัตรเครดิตไมได้นะ แต่บริหารให้ดี อย่ามีหนี้ค้าง อย่าชำระขั้นต่ำ

บ้าน รถยนต์ ถ้าไม่ตำเป็นจริงๆ ยังไม่ต้องรีบซื้อ เพราะเป็นภาระ ระยะยาวบ้านว่าเหนื่อยแล้ว รถยิ่งเหนื่อย เพราะนอกจากผ่อนหนัก ค่าใช้จ่ายเยอะ มูลค่ายังลดลงเรื่อยๆด้วย

2.ออม 20% ของรายได้ ถ้าไม่มีภาระต้องส่งเสียครอบครัว ลองหาวิธีออมให้ได้ 20% ของรายได้ ใช้วิธีตัดออมก่อนใช้จ่าย ออมให้เป็นนิสัย อย่าผัดวันประกันพรุ่ง ยิ่งเริ่มออมเร็ว ยิ่งสร้างโอกาสมั่งคั่งได้เร็ว

3.ศึกษาเรื่องการเงินการลุงทุน อย่าคิดว่าที่เรียนมานั้นพอ เรียนจบแล้วน้องยังต้องเรียนรู้อะไรอีกหลายอย่าง ทั้งในเรื่องการงาน การสร้างอาชีพ การพัฒนาตัวเอง และที่ขาดไม่ได้คือ การเรียนรู้เรื่องการเงินและการลงทุน

คนในยุคสมัยหนา ถ้าไม่รู้เรื่องเงินจะกลายเป็นคนล้าหลัง ดอกเบี้ยเงินออมพาเราไปถึงความมั่งคั่งไม่ได้ ดังนั้น ต้องรู้จักวิธีต่อยอดเงินและบริหารเงินให้เป็น

4.เน้นทำงานเพื่อสร้างประสบการณ์ 10 ปีแรก อย่ามองแต่ตัวเงิน อย่าหวังแค่น้ำบ่อหน้า ทำงานหวังเศษเงินเดือนที่แตกต่างกันไม่กี่พันบาท แต่ให้โฟกัสที่การสร้างประสบการณ์ จำไว้ว่า ความรู้ซื้อหาได้ แต่ประสบการณ์หาซื้อไม่ได้ ประสบการณ์มือสอง (ฟังเรื่องคนอื่น) ทำให้รู้มากขึ้น) แต่ประสบการณ์ของตัวเอง จำทำให้คุณเก่งมากขึ้น

นานวันเข้าคุณจะเข้าใจว่า ประสบการณ์เปลี่ยนเป็นเงินได้ แค่ความรู้ใครๆก็มี คนเราถ้าอายุ 30 ปี ขึ้นไปแล้ว ตอบตัวเองไม่ได้ว่าคุณเก่งอะไร เชี่ยวชาญอะไร หรือชอบอะไร ผมว่าชีวิตคุณมีปัญหาแล้วละ และมีโอกาสติดกับดักรายได้แน่นอน

5.สร้างทรัพย์สิน (ก่อนซื้อหนี้สิน) ถ้าอยากสำเร็จทางการเงินต้องรอคอยความสำเร็จให้เป็น บ้าน รถยนต์ หรือหนี้สินก้อนใหญ่ให้ซื้อเมื่อพร้อม และถ้าจะให้ดี ให้สร้างทรัพย์สินก่อนซื้อหนี้สิน เพื่อให้ทรัพย์สินสร้างกระแสเงินสดรายเดือนผ่อนหนี้ให้กับเรา จะได้ไม่เป็นภาระทางการเงิน

ผมเองอดทนรอซื้อรถตอนอายุ 34 ปี ตอนนั้นเอาเงินที่ได้จากการแปลหนังสือสองเล่มไปเป็นเงินดาวน์ ส่วนเงินผ่อนก็ใช้รายได้จากธุรกิตที่ไม่ต้องลงมือทำทุกวันช่วยจ่ายให้ ทำให้แม้มีหนี้ซื้อรถยนต์แต่ไม่เหนื่อยและไม่เครียด บ้านผมก็ทำในแบบเดียวกัน

จำไว้ว่า คนจนซื้อหนี้สิน ซื้อความสบายก่อน แล้วก็ต้องมาอดทนกัดฟันผ่อนหนี้ไปเรื่อยๆ ชีวิตการเงินไม่ก้าวหน้า ในขณะที่คนรวยสร้างทรัพย์สิน เพื่อจ่ายหนี้สินให้กับตัวเอง

6. ทำอะไรนึกถึงวันข้างหน้าไว้เสมอ ข้อนี้ตรงกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัสของในหลวกคือ มีภูมิคุ้มกัน ทำอะไรคิดถึงวันข้างหน้าเอาไว้ ถามตัวเองเสมอว่า สิ่งที่ทำในวันนี้มันเป็นจิ๊กซอว์ของความสำเร็จ หรือเป้าหมายเราในอนาคตหรือไม่ ถ้าใช่ ใส่ให้หนัก ถ้าไม่ใช่ ให้หลีกเลี่ยง

จำไว้ว่า ชีวิตทางการเงินของคนเรานั้นไม่เคยเบาลงครับ ถ้าคุณปล่อยชีวิตตัวเองให้หนักอึ้งไปด้วยภาระตั้งแต่ 10 ปีแรกที่ทำงาน ผมบอกได้เลยว่าอีก 10 ปีถัดไป ชีวิตคุณไม่มีทางเบาลง แม้รายได้จะมากขึ้น เพราะเมื่อกายุเข้ามาช่วง 30-4 ปี ภาระทางการเงินคุณจะยิ่งหนักขึ้น เพราะไหนจะแต่งงาน มีครอบครัว ซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ ชุดใหญ่จัดเต็มแน่นอน

ดังนั้น ทำชีวิตให้เบาสบายจากภาระในช่วง 10 ปีแรก โฟกัสที่การสร้างทรัพย์สิน ทำให้ตัวเองเกษียณทางการเงินให้เร็วที่สุด

7.เกษียณทางการเงินให้ได้ภายใน 40 ปี ถ้าเป็นเกษียณทางการงานนั้น แล้วแต่คุณว่าจะหยุดทำงานเมื่อไหร่ แต่ถ้าเป็นการเงิน ผมมองว่าคนเราควรหยุดและหมดกังวลกับเรื่องเงินตั้งแต่อายุ 40 ปี

ผมเองมีอิสรภาพตั้งแต่อายุ 34 ปี รู้เลยว่าตัวเองโชคดีมาก การหมดกังวลเรื่องเงินได้เร็ว ทำให้คุณมีเวลาใช้ชีวิตทำสิ่งสำคัญๆ ได้มากมายไม่ว่าจะเป็นการดูแลครอบครัว ท่องเที่ยวแบบไร้กังวล ทำงานสาธารณะประโยชน์เต็มกำลัง โดยไม่ต้องห่วงปากท้อง การใช้เวลากับงานอดิเรกที่รักตลอดเวลา ฯลฯ

โฟกัสเรื่องการเงินแค่ครึ่งชีวิต
เพื่อใช้ชีวิตที่เหลืออีกครึ่งให้มีความสุขครับ

📖 หนังสือ : คนไทยฉลาดการเงิน (Money Literacy)
📍ผู้แต่ง : จักรพงษ์ เมษพันธุ์, ศักดา สรรพปัญญาวงศ์, ถนอม เกตุเอม

💖อ่านบทความดีๆได้ที่
https://www.bookintelligent.com/

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *